วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

เรื่องสั้น

๑. ครอบครัวกลางถนน

รวมเรื่องสั้น รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมอาเซียน ปี 2536
ผู้เขียน ศิลา โคมฉาย
รวม 13 เรื่องสั้น เรื่องสั้นซีไรท์ และรางวัลสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่ฉายให้เห็นถึงอารมณ์ร้าวลึกของคนเมือง ที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนท่ามกลางความผันแปรของสังคมปัจจุบัน โดยดึงนานาปัญหา หลากหลายแง่มุม ผูกร้อยเป็นเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ ความขัดแย้งของคนในครอบครัว การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด การแก่งแย่งเชือดเฉือนในวงการธุรกิจและการเมือง ความเครียดที่ถูกสังคมบีบคั้นและเร่งรัด และความกดดันรุนแรงที่ไม่มีทางออก ถ่ายทอดด้วยสำนวนโวหารที่สร้างบรรยากาศและจินตภาพ ทำให้ผู้อ่านสามารถสัมผัสอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร เป็นการส่งสารวรรณศิลป์ได้อย่างแนบเนียนและลึกซึ้ง





๒. คิดถึงทุกปี

ผู้เขียน บินหลา สันกาลาคีรี
"คิดถึงทุกปี" เป็นมากว่าเรื่องสั้น หรือหนังสือ คำนี้อาจสะท้านสะเทือนหัวใจของใครบางคน
รวมเรื่องสั้นอารมณ์รักขมๆ จำนวน 9 เรื่องที่กินใจนักอ่านมากว่าสิบปี ไม่ว่าจะเป็นหัวใจนกปรอด งางอน นครคนดี สัตว์ 2 นอ คิดถึงทุกปี สารนาถ งามแสงดาว ตาหมาหมวก มหกรรมขายทอดตลาด "ถูก" ที่สุดในโลก และเพิ่มเติมด้วย คำตาม สุดพิเศษจาก "มุกหอม วงษ์เทศน์" ในชื่อเรื่อง คิดถึงทั้งปี คุณได้จะได้สัมผัสทั้งอารมณ์ที่เศร้า เหงา ประทับใจ และงดงาม เป็นเรื่องสั้นที่ให้ข้อคิดดีๆ ภายใต้ความแสนจะโรแมนติกที่ผู้เขียนบรรจงถ่ายทอดอย่างนิ่มนวล



๓. เจ้าหงิญ

ผู้เขียน บินหลา สันกาลาคีรี
ผลงานรวมเรื่องสั้นลำดับที่ 3 ของ บินหลา สันกาลาคีรี เป็นนิทานสำหรับทุกวัย หลากรส ลึกล้ำ โลดแล่นไปกับจินตนาการสุดบรรเจิด 
เป็นการสร้างเรื่องจากจินตนาการมองโลกในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแง่เหงา เศร้า สดใส ช่างจินตนาการ เย้ยหยัน... 
แต่ละเรื่องถ้าอ่านเอารสและรื่นรมย์ ก็จะสัมผัสกับความหมายเล็ก ๆ ที่ "บินหลา" แอบซุกซ่อนไว้ 
คือศักยภาพแห่งจินตนาการและความฝันของมนุษย์ ถ้าอ่านเอาจริงเอาจังก็จะพบความหมายใหญ่ นั่นก็คือวิญญาณขบถในตัวมนุษย์ทุกนาม






๔. โลกคู่ขนานหลังประตูบานนั้น

ได้รับรางวัล : รางวัลชมเชยประเภทรวมเรื่องสั้น
ชื่อผู้แต่ง : โมน สวัสดิ์ศรี
เรื่องสั้นชุดนี้ฉายภาพ “ผลกระทบ” จากโลกของทุนนิยม ที่ส่งอิทธิพลต่อชนชั้นล่าง ทั้งปัญหาที่ชนชั้นล่างไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ ปัญหาที่ชนชั้นล่างพยายามปรับตัวให้เข้ากับ “การเปลี่ยนแปลงของสังคม” ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งล้วนเป็นพลวัตของยุคสมัย และระบบทางการตลาดที่ยากจะเหนี่ยวรั้งไว้ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น