นวนิยาย
๑. ตลิ่งสูงซุกหนัก
รางวัลซีไรต์ ปี 2531
ผู้เขียน นิคม รายยวา
“ตลิ่งสูง ซุงหนัก” เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า ความหมายของชีวิต ที่มีการเกิดและความตายอย่างละหนึ่งเท่ากัน คำงายได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต โดยเห็นว่าคนเรานั้น มัวแต่รักษาซากที่ไม่มีชีวิต ไม่เคยรักษาชีวิตที่อยู่ในซากเลย เขาจึงเลือกรักษาชีวิตโดย เลี้ยงมัน รักมัน ถนอมมัน และเห็นความสัมพันธ์โยงใย ระหว่างชีวิตทั้งหลาย
๒. ลูกอีสาน
นวนิยายรางวัลซีไรต์ พุทธศักราช 2522
ผู้เขียน คำพูน บุญทวี
"ลูกอีสาน" ผลงานประพันธ์ยอดเยี่ยมของ"ลูกอีสาน" ผลงานประพันธ์ยอดเยี่ยมของ "คำพูน บุญทวี" ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน (ซีไรต์) เมื่อพ.ศ.2522 ทางสำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์ "ลูกอีสาน" ใหม่โดยปรับปรุงให้รับกับสมัย พร้อมทั้งเพิ่มภาคผนวกและภาพประกอบเพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสและซึมซับความเป็นลูกอีสานได้อย่างเต็มอิ่ม เช่นเดียวกับการนำเพชรมาประดับบนตัวเรือนใหม่ให้สมค่าและศักดิ์ศรี
๓. คนแคระ
ผู้เขียนวิภาส ศรีทอง
"คนแคระ" เล่มนี้ นำเสนอปัญหาสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ เปิดเผยให้เห็นความโดดเดี่ยวอ้างว้างของกลุ่มคนซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมร่วมสมัย โดยสะท้อนให้เห็นการขาดความตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การหมกมุ่นอยู่กับปัญหาของตนเอง และการโหยหาสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์แต่จำกัดขอบเขตของความสัมพันธ์นั้นไว้ ทั้งหมดนี้ผู้เขียนนำเสนอผ่านตัวละครที่แสดงความเย็นชาต่อชะตากรรมของมนุษย์ และหาทางสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเอง
ผู้เขียนมีกลวิธีการเล่าเรื่องเนิบช้า ทว่า...มีพลัง มีการสร้างจินตภาพที่ชวนให้เกิดการตีความหลากหลาย มีตัวละครซับซ้อน แปลกแยก และท้าทายกฎเกณฑ์ของสังคม คุณค่าของนวนิยายนี้จึงอยู่ที่การกระตุ้นให้เกิดการสำรวจภาวะความเป็นมนุษย์ ในโลกร่วมสมัย ในขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามกับมโนสำนึก ความรับผิดชอบชั่วดีและสารัตถะของชีวิต!
๔. ความสุขของกะทิ
ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
(ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2549 และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2552
ผู้เขียน งามพรรณ เวชชาชีวะ
พบกับวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2549 “ความสุขของกะทิ” เนื้อหาในเล่มจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับเด็กหญิงคนหนึ่งในสังคมแบบชนบทที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้าและสงบงาม เป็นชีวิตอย่างที่ผู้คนจำนวนมากในเมืองต่างก็โหยหา แต่ลึกลงไปในใจของเด็กหญิง แม้จะมีทั้งตาและยายคอยให้ความรักและใส่ใจ เธอก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงแม่ แม่ผู้เก็บความลับในชีวิตของเธอเอาไว้ แม่ผู้บอกเหตุผลได้ว่าทำไมเธอจึงต้องมาอยู่กับตายาย แทนที่จะอบอุ่นในบ้านที่มีทั้งพ่อและแม่ แม่ผู้จะตอบคำถามในใจของกะทิได้หมด แม้ว่าบางคำถาม กะทิจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าต้องการจะรู้หรือไม่ก็ตาม...
๕. ช่างสำราญ
นวนิยายรางวัลซีไรต์ประจำปี 2546
ผู้เขียน เดือนวาด พิมวนา
"ช่างสำราญ" เป็นผลงานลำดับสองของนักเขียนผู้ได้รับการประดับช่อการะเกดสามปีซ้อน (2535-2537) เนื้อหาภายในเล่มเสนอภาพชีวิตที่สะท้อนให้เห็นถึงสายใยในสังคมเล็กๆ ที่ หลงเหลือ อยู่จริงไปพร้อมกัน แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากอดีตมากแล้ว กระนั้น ราก บางอย่างก็หาได้ถูกขุดโค่นถอนโคนจนสิ้นซากไม่ และผู้เขียนยังได้นำเสนอเรื่องราวแยกย่อยออกเป็นบทต่างๆ ซึ่งมีประเด็นคมชัดอยู่ในตัวเองแล้ว ทั้งหมดนั้นยังร้อยเรียงเป็นเอกภาพอันช่วยขับขยายให้เข้าใจสภาพของสังคมได้อย่างแจ่มชัดมีชีวิตชีวายิ่งกระทั่งกล่าวได้ว่า ช่างสำราญ ก็คือภาพจำลองของสังคมไทยร่วมสมัยนั่นเอง ด้วยการเล่าเรื่องอย่างมีลักษณะเฉพาะตัว ชวนติดตามตลอดเล่ม
นวนิยาย
๑. ตลิ่งสูงซุกหนัก
รางวัลซีไรต์ ปี 2531ผู้เขียน นิคม รายยวา
“ตลิ่งสูง ซุงหนัก” เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า ความหมายของชีวิต ที่มีการเกิดและความตายอย่างละหนึ่งเท่ากัน คำงายได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต โดยเห็นว่าคนเรานั้น มัวแต่รักษาซากที่ไม่มีชีวิต ไม่เคยรักษาชีวิตที่อยู่ในซากเลย เขาจึงเลือกรักษาชีวิตโดย เลี้ยงมัน รักมัน ถนอมมัน และเห็นความสัมพันธ์โยงใย ระหว่างชีวิตทั้งหลาย
๒. ลูกอีสาน
นวนิยายรางวัลซีไรต์ พุทธศักราช 2522ผู้เขียน คำพูน บุญทวี
"ลูกอีสาน" ผลงานประพันธ์ยอดเยี่ยมของ"ลูกอีสาน" ผลงานประพันธ์ยอดเยี่ยมของ "คำพูน บุญทวี" ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน (ซีไรต์) เมื่อพ.ศ.2522 ทางสำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์ "ลูกอีสาน" ใหม่โดยปรับปรุงให้รับกับสมัย พร้อมทั้งเพิ่มภาคผนวกและภาพประกอบเพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสและซึมซับความเป็นลูกอีสานได้อย่างเต็มอิ่ม เช่นเดียวกับการนำเพชรมาประดับบนตัวเรือนใหม่ให้สมค่าและศักดิ์ศรี
๓. คนแคระ
"คนแคระ" เล่มนี้ นำเสนอปัญหาสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ เปิดเผยให้เห็นความโดดเดี่ยวอ้างว้างของกลุ่มคนซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมร่วมสมัย โดยสะท้อนให้เห็นการขาดความตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การหมกมุ่นอยู่กับปัญหาของตนเอง และการโหยหาสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์แต่จำกัดขอบเขตของความสัมพันธ์นั้นไว้ ทั้งหมดนี้ผู้เขียนนำเสนอผ่านตัวละครที่แสดงความเย็นชาต่อชะตากรรมของมนุษย์ และหาทางสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเอง
ผู้เขียนมีกลวิธีการเล่าเรื่องเนิบช้า ทว่า...มีพลัง มีการสร้างจินตภาพที่ชวนให้เกิดการตีความหลากหลาย มีตัวละครซับซ้อน แปลกแยก และท้าทายกฎเกณฑ์ของสังคม คุณค่าของนวนิยายนี้จึงอยู่ที่การกระตุ้นให้เกิดการสำรวจภาวะความเป็นมนุษย์ ในโลกร่วมสมัย ในขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามกับมโนสำนึก ความรับผิดชอบชั่วดีและสารัตถะของชีวิต!
๔. ความสุขของกะทิ
(ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2549 และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2552
ผู้เขียน งามพรรณ เวชชาชีวะ
พบกับวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2549 “ความสุขของกะทิ” เนื้อหาในเล่มจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับเด็กหญิงคนหนึ่งในสังคมแบบชนบทที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้าและสงบงาม เป็นชีวิตอย่างที่ผู้คนจำนวนมากในเมืองต่างก็โหยหา แต่ลึกลงไปในใจของเด็กหญิง แม้จะมีทั้งตาและยายคอยให้ความรักและใส่ใจ เธอก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงแม่ แม่ผู้เก็บความลับในชีวิตของเธอเอาไว้ แม่ผู้บอกเหตุผลได้ว่าทำไมเธอจึงต้องมาอยู่กับตายาย แทนที่จะอบอุ่นในบ้านที่มีทั้งพ่อและแม่ แม่ผู้จะตอบคำถามในใจของกะทิได้หมด แม้ว่าบางคำถาม กะทิจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าต้องการจะรู้หรือไม่ก็ตาม...
๕. ช่างสำราญ
นวนิยายรางวัลซีไรต์ประจำปี 2546
ผู้เขียน เดือนวาด พิมวนา
"ช่างสำราญ" เป็นผลงานลำดับสองของนักเขียนผู้ได้รับการประดับช่อการะเกดสามปีซ้อน (2535-2537) เนื้อหาภายในเล่มเสนอภาพชีวิตที่สะท้อนให้เห็นถึงสายใยในสังคมเล็กๆ ที่ หลงเหลือ อยู่จริงไปพร้อมกัน แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากอดีตมากแล้ว กระนั้น ราก บางอย่างก็หาได้ถูกขุดโค่นถอนโคนจนสิ้นซากไม่ และผู้เขียนยังได้นำเสนอเรื่องราวแยกย่อยออกเป็นบทต่างๆ ซึ่งมีประเด็นคมชัดอยู่ในตัวเองแล้ว ทั้งหมดนั้นยังร้อยเรียงเป็นเอกภาพอันช่วยขับขยายให้เข้าใจสภาพของสังคมได้อย่างแจ่มชัดมีชีวิตชีวายิ่งกระทั่งกล่าวได้ว่า ช่างสำราญ ก็คือภาพจำลองของสังคมไทยร่วมสมัยนั่นเอง ด้วยการเล่าเรื่องอย่างมีลักษณะเฉพาะตัว ชวนติดตามตลอดเล่ม
ผู้เขียน เดือนวาด พิมวนา
"ช่างสำราญ" เป็นผลงานลำดับสองของนักเขียนผู้ได้รับการประดับช่อการะเกดสามปีซ้อน (2535-2537) เนื้อหาภายในเล่มเสนอภาพชีวิตที่สะท้อนให้เห็นถึงสายใยในสังคมเล็กๆ ที่ หลงเหลือ อยู่จริงไปพร้อมกัน แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากอดีตมากแล้ว กระนั้น ราก บางอย่างก็หาได้ถูกขุดโค่นถอนโคนจนสิ้นซากไม่ และผู้เขียนยังได้นำเสนอเรื่องราวแยกย่อยออกเป็นบทต่างๆ ซึ่งมีประเด็นคมชัดอยู่ในตัวเองแล้ว ทั้งหมดนั้นยังร้อยเรียงเป็นเอกภาพอันช่วยขับขยายให้เข้าใจสภาพของสังคมได้อย่างแจ่มชัดมีชีวิตชีวายิ่งกระทั่งกล่าวได้ว่า ช่างสำราญ ก็คือภาพจำลองของสังคมไทยร่วมสมัยนั่นเอง ด้วยการเล่าเรื่องอย่างมีลักษณะเฉพาะตัว ชวนติดตามตลอดเล่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่